Monday, February 18, 2019








กาเเฟจำนวนมหาศาลในเเต่ละวันถูกผลิตออกมาจากโรงกาเเฟนั้น..
สงสัยหรือไม่ว่าทำไมเเต่ละเมล็ดจึงมาขนาดที่เท่าๆกัน สีที่เหมือนๆกัน...
เเต่เดิมทีกาเเฟเชอร์รี่นั้นเป็นผลไม้สีเเดง ที่เราต้องการเมล็ดที่ซ่อนอยู่ข้างใน เราจะไม่เห็นเมล็ดเลยถ้าไม่ได้ผ่านกระบวนการกระเทาะเปลือกหรือสีเปลือกออก เมล็ดกาเฟด้านในนั้น มีสีเเละขนาดที่เเตกต่างออกไป ตามสารอาหารที่ลำเลียงจากรากสู่ลำต้นไปยังลูกเชอร์รี่ต่างๆ การดูดซึมปริมาณสารอาการที่ไม่เท่ากันนั้นทำให้เราได้เมล็ดที่มีความเเตกต่างกัน รวมทั้ง peaberry ด้วย

เครื่องมือที่เราอยากเเนะนำคือ
เครื่องสีกาแฟ หรือ เครื่องสีกะเทาะเปลือกกาแฟกะลา ของเราที่สามารถกะเทาะได้ทั้งกาแฟสาร และกาแฟเชอรี่แห้ง ทำให้คุณสามารถผลิตกาแฟได้หลากหลายชนิด

เมื่อโรงกาเเฟทำงานได้อย่างเป็นระบบ..
ใครๆก็ต้องการผลิดกาเเฟที่มีคุณภาพ การพัฒนาตัวเองอยู่เสมอของโรงกาเเฟที่เกิดใหม่หรืออยู่มานานนั้นต้องควบคู่ไปกับการโตตามตลาด ต้องฉลาดคิดฉลาดเลือก
เเละเมื่อถึงวันที่โรงกาเเฟทำงานได้อย่างเป็นระบบเเละนั้น คุณภาพที่ได้มีค่ามากกว่า เพราะเรารู้ถึงคุณภาพสินค่าที่เรามี เมื่อเรามีความเชื่อมั่นในกาเเฟของเราเเล้ว เราสามารถส่งต่อได้อย่าภาคภูมใจ
ไม่ใช่ว่ากาเเฟที่ไหนที่ไหนก็เหมือนกันคุณคิดผิด..

การเเปรรูปกาเเฟ
วิธีการแปรรูปมี 2 วิธี ที่นิยมปฏิบัติกัน คือ
การทำสารกาแฟโดยวิธีเปียกเป็น วิธีการที่นิยมกันแพร่หลาย เพราะจะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพ รสชาติดีกว่า ราคาสูงกว่าวิธีตากแห้ง โดยมีขั้นตอน ในการดำเนินการมี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การปอกเปลือก(Pulping)
โดยการนำผลกาแฟสุกที่เก็บได้มาปอกเปลือกนอกทันที โดยเครื่องปอกเปลือก โดยใช้น้ำสะอาดขณะที่เครื่องทำงาน ไม่ควรเก็บ ผลกาแฟไว้นานหลังการเก็บเกี่ยวเพราะผลกาแฟเหล่านี้จะเกิดการหมัก (fermentation) ขึ้นมาจะทำให้คุณภาพของสารกาแฟ มีรสชาติเสียไป ดังนั้นหลังปอกเปลือกแล้ว จึงต้องนำไปขจัดเมือก

2. การกำจัดเมือก (demucilaging)
เมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกนอกออกแล้ว จะมีเมือก (mucilage) ห่อหุ้มเมล็ดอยู่ซึ่งจะต้องกำจัดออกไป ซึ่งมีวิธีการอยู่ 3 วิธีคือ

การกำจัดเมือกโดยวิธีการหมักตามธรรมชาติเป็นวิธีการที่ปฏิบัติดั้งเดิมค่ะ โดยนำ เมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกออกแล้วมาแช่ในบ่อซีเมนต์ขนาด มีรูระบายน้ำออกด้านล่าง ใส่เมล็ดกาแฟประมาณ 3/4 ของบ่อ แล้วใส่น้ำให้ท่วมสูงกว่ากาแฟ แล้วคลุมบ่อด้วยผ้าหรือพลาสติกปิดปาก บ่อซีเมนต์ ทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง ในกรณีที่อุณหภูมิต่ำอากาศหนาวเย็น การหมักอาจจะใช้เวลา 48-72 ชั่วโมง) จากนั้นปล่อยน้ำทิ้งแล้วนำ เมล็ดมาล้างน้ำให้สะอาด นำเมล็ดมาขัดอีกครั้งในตระกล้าที่ตาถี่ ที่มีปาก ตะกร้ากว้าง ก้นไม่ลึกมาก เมื่อขัดแล้วเมล็ดกาแฟจะไม่ลื่นแล้วล้าง ด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนที่จะนำไปตาก

การกำจัดเมือกโดยการใช้ด่างวิธีนี้จะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมง นำเมล็ดกาเเฟ เทลงในบ่อซีเมนต์ที่ใช้หมักเมล็ดกาแฟ หลังจากเทเมล็ดกาแฟ และเกลี่ยให้เสมอกัน จากนั้นใช้ไม้พายกวน เมล็ดกาแฟเพื่อให้สารละลายกระจายให้ทั่วทั้งบ่อประมาณ 30-60 นาที หลังจากทิ้งไว้ 20 นาทีนำเมล็ดกาแฟไปล้างด้วยน้ำสะอาด 3-4 ครั้ง ก่อนนำไปผึ่งแดดให้แห้ง

การกำจัดเมือกโดยใช้แรงเสียดทานโดยใช้เครื่องปอกเปลือกสามารถจะกระเทาะเปลือกนอก และกำจัดเมือก ของเมล็ดกาแฟในเวลาเดียวกัน แต่มีข้อเสียคือทำให้เมล็ดเกิดแผล ดังนั้นจึงควรคัดผลกาแฟให้มีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อลดความ เสียหายของเมล็ดให้น้อยลง

3.การตากหรือการทำแห้ง (Drying)
หลังจากเมล็ดกาแฟผ่านการล้างทำความสะอาดแล้วนำเมล็ดกาแฟมาเทลงบนลานตากที่ทำความสะอาดแล้ว หรือเทลงบนตาข่ายพลาสติกบนแคร่ไม้ไผ่ เกลี่ยเมล็ดกาแฟกระจายสม่ำเสมอไม่ควรหนาเกิน 4 นิ้ว ควรที่จะเกลี่ยเมล็ดกาแฟวันละ 2 - 4 ครั้ง จะทำให้เมล็ดแห้งเร็วขึ้น และเวลากลางคืนควรกองเมล็ดเป็นกอง ๆ และใช้พลาสติกคลุมเพื่อป้องกันน้ำฝนหรือน้ำค้าง ใช้เวลาตากประมาณ 7 -10 วัน เมล็ดจะมีความชื้นประมาณ 13 %

4. การบรรจุ (Packing)
เมล็ดกาแฟที่ได้ควรเก็บไว้ในรูปของกาแฟกะลา (Parchment Coffee) เพราะจะสามารถรักษาเนื้อกาแฟและป้องกันความชื้นกาแฟได้ดี ควรบรรจุ ในกระสอบป่านใหม่ และควรกลับด้านในของกระสอบป่านออกมา ผึ่งลมก่อนนำไปใช้ เก็บในโรงเก็บที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น หรือมีกลิ่นเหม็น

5.การสีกาแฟกะลา (Hulling)
กาแฟกะลาที่จะนำไปจำหน่ายควรจะสีเพื่อเอากะลาออกด้วยเครื่องสีกะลา จะได้สารกาแฟ (Green Coffee) ที่มีลักษณะผิวสีเขียวอมฟ้า การทำสารกาแฟโดยวิธีแห้ง เป็นวิธีการที่ดำเนินการโดยนำเอาผลกาแฟ (Coffee Cherry) ที่เก็บเกี่ยวมาจากต้นแล้วนำมาตากแดด ประมาณ 15 -20 วัน บนลานตากที่สะอาดและได้รับแสงแดดเต็มที่ เกลี่ยให้เสมอทั่วกันและ หมั่นเกลี่ยบ่อยครั้ง เมื่อผลแห้งจะมีเสียงของเปลือกกับเมล็ดกระทบกัน จึงนำมาเข้า เครื่องสีกาแฟ (Hulling) แล้วบรรจุในกระสอบที่สะอาด ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ สารกาแฟที่ได้จะมีคุณภาพต่ำกว่าการทำ สารกาแฟโดยวิธีหมักเปียก

เครื่องสีกะเทาะเปลือกกาแฟกะลา Parchment Huller ผลิตโดย VNT Vina Nhatrang

ส่วนประกอบสำคัญของเครื่อง / MACHINE'S ADJUASTBLE PARTS

ช่องปรับระดับ
ใช้ปรับความกว้างของช่องลมเพื่อปรับแรงลมดูดภายในเครื่องให้เหมาะสมกับเปลือก กาแฟ ฝุ่นกาแฟ หรือเศษอื่นๆ
คันโยก พร้อมตุ้มถ่วง
ใช้ในการถ่วงน้ำหนักของประตูทางออก สามารถปรับได้ตามความต้องการขัดเมล็ดกาแฟมากน้อย
ด้ามจับห้องกะเทาะ
ใช้ปรับตั้งความห่างภายในห้องกะเทาะตามขนาดของเมล็ดกาแฟแต่ละประเภท


ส่วนประกอบอื่นๆที่จำเป็นต่อการทำงานของเครื่อง / EQUIPMENTS

ชุดดูดแกลบที่สีออก
ชุดไซโคลนและพัดลม
(สามารถทำท่อส่งเปลือกกะลาที่กะเทาะแล้วออกไปนอกกำแพงอาคารได้)
ชุดดูดฝุ่น
ชุดดูดฝุ่นขนาด 5  HP 2 ปล่อง
ชุดต้นกระพ้อลำเลียงวัตถุดิบ
ความสูงประมาณ 7-8 เมตร จำนวน 1 ต้น
(มอเตอร์เกียร์ 1 Hp , ลูกกระพ้อ LASER 6" , สายกระพ้อ 6" )
ถังพักวัตถุดิบก่อนเข้าเครื่อง
ถังพักขนาดบรรจุอย่างน้อย 1 ตัน



No comments:

Post a Comment