Tuesday, August 23, 2016

GREAT EXPERIENCE FOR LATTE ART

ONCE IN George Town




       รสนิยมการดื่มการแฟในสมัยนี้นั้นคงไม่ได้อยู่ที่ฝีมือการชงอย่างเดียวแล้ว ความสวยงามทางศิลปะก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราเสพและดื่มลงไปได้ 

       มีครั้งหนึ่งที่ผู้เขียนได้มีโอกาศเดินทางไปเที่ยวที่ประเทศมาเลเซียประเทศที่มีตึกรามบ้านช่องในสไตร์ชิโนโปรตุกีสแบบดั้งเดิมและยังคงรักษาสภาพความเก่าคลาสสิคไว้อย่างน่าหลงใหล สถาปัตยกรรมและสตรีทอาร์ท(Stree Art)(Graffiti) ที่มีเชื่อเสียงแห่งเมืองที่เป็นมรดกโลกอย่างจอร์จทาวน์(George Town)ยังคงเป็นแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชอบความสงบให้มาเที่ยวตลอดทั้งปี


       การไปเที่ยวครั้งนั้นผู้เขียนไม่ได้เพียงดื่มด่ำไปกับบรรยากาศของสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงศิลปะอันหอมกรุ่นบนแก้วลาเต้นั้นด้วย ขอเกริ่นก่อนนะคะว่า ลาเต้อาร์ต นั้นมีต้นกำเนิดมาจากปประเทศอิตาลี่ ประเทศต้นกำเนิดของศิลปะหลายแขนงอีกทั้งยังเป็นประเทศที่ประชากรนิยมดื่มการแฟมากที่สุดของโลกอีกด้วย ศิลปะบนแก้วกาแฟเรียกว่า เครม่า (creama)เทคนิคการทำมีอยู่สองแบบคือ
free pouring การเทโฟมนมลงไปในแก้วกาแฟให้เกิดลวดลาย และ
Etehing การเทโฟมนมลงในถ้วยกาแฟและแต่งหน้าด้วย ไซรัป หรือ ช็อคโกแลต




อย่างสุดท้ายที่ดูจะน่าสนใจไม่น้อยคือ 3d latte art ส่วนตัวผู้เขียนได้ไปลองครั้งแรกที่เมืองจอร์จทาวน์ คาเฟ่กาแฟเก๋ๆมีอยู่ทุกหัวมุมถนนในเมือง คนที่นั่นนิยมดื่มกันมากในทุกช่วงเวลา ร้านที่ผู้เขียนได้ไปลองชิมมาอยู่แถว LOVE LAND
(ถนนเส้นนี้ถูกตั้งชื่อนี้เพราะเป็นที่ๆบรรดาเศรษฐีในสมัยเก่าชอบมาซุกภรรยาน้อยนั่นเอง)



          ร้านออกแบบตกแต่งในสไตร์เรโทรวินเทจที่เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้น ด้วยโททนสีอบอุ่น พอเข้ามาในร้านที่แต่งด้วยอิฐและโซฟาที่ดูเหมือนออกมาจากหนังฮอลลีวูดยุค 70s’ กลิ่นกาแฟคั่วหอมๆโชยมา ทำให้เราต้องขลุกตัวอยู่ในนั้นนานหลายชั่วโมง เมนูที่สั่งมาเป็นลาเต้ธรรมดาในราคา 21 ริงกิต (210บาท)  ทีดูจะไม่ธรรมดาเพราะเจ้าหมีหน้ากลมตัวอ้วนที่นอนพาดบนแก้ว  ดูน่ารักมากกว่าน่ากินเสียด้วยซ้ำ อดไม่ได้ที่จะถ่ายรูปมันไว้ตามประสาผู้หญิงและนั่งมองมันอยู่นานก่อนจะตัดใจยกแก้วมาดื่ม 

นมตีเป็นฟองฟูขึ้นรูปเป็นตัวหมีแต้มตาและปากด้วยช็อคโกแลต  รสชาติลาเต้ที่กลมกล่อมทำให้แก้วนั่นดูเข้ากับบรรยกาศยามเช้า กาแฟแก้วอร่อย จะช่วยบรรจุความทรงจำดีๆเก็บไว้ได้เสมอ เพราะมันไม่ใช่แค่ความอร่อยแต่รวมไปถึงความสวยงามที่สัมผัสได้ 
และจริงเหมือนคำที่อาจารย์ของผู้เขียนเคยบอกไว้ว่า

สถาปัตยกรรมเป็นครู ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสของเราเข้าไปถึงการเรียนรู้ จากสถาปัตยกรรมจริง เพราะสถาปัตยกรรมไม่สามารถดูแต่เพียงในรูปได้ เราต้องมีโอกาศได้สัมผัสเป็นประสบการณ์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ว่าสิ่งที่สวยงามนั้นงามอย่างไร ผมเชื่ออย่างนั้น(อาจารย์เอกจิตร จิตรเจริญ)

ดูเพิ่มเติมได้ที่ :  http://coffeeconstruct.com

เว็บไซต์อื่นๆ :

#กาแฟ
เว็ปไซต์ : http://www.beltandbearings.co.th/?page_id=2018&lang=en

No comments:

Post a Comment