เริ่มตั้งแต่ปี 1993 ในประเทศบุรุนดี (Burundi) ได้เกิดสงครามกลางเมืองที่บ่มเพาะความขัดแย้งมานานนับศรรตวรรษจนในที่สุดก็เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่าง 2 เผ่าพันธุ์ในชาติ นั่นคือชาวฮูตู (Hutu) และชาวตูดซิ (Tutsi) โดยความขัดแย้งนี้ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งในปัจจุบันที่สถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง ด้วยเหตุนี้เองทำให้ระบบเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเต็มไปด้วยความยากลำบากเมื่อต้องเสี่ยงอันตรายต่อการตกอยู่ในวงล้อมของสงคราม และกองเลือด
ประเทศบุรุนดี
ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาพื้นที่ทั้งหมด 27,830 ตารางกิโลกเมตร
พรมแดยทิศเหนือติดกับประเทศรวันดา ทิศใต้และตะวันออกติดกับแทนซาเนีย
ทิศตะวันตกติดกับคองโก โดยมีทะเลสาบแทนกานยิกาอยู่ทางทิศใต้และตะวันตกของประเทศ
ซึ่งบุรุนดีไม่มีพื้นที่ใดติดกับทะเล จึงทำให้ต้องใช้ทางผ่านของประเทศแทนซาเนียในการลำเลียงส่งออกสินค้าไปทางมหาสมุทรอินเดีย
ประชากรของบุรุนดีมีราว
10 ล้านคน แบ่งออกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักๆ 3 กลุ่ม นั่นคือ ชาวฮูตู (Hutu) ร้อลละ 85 และชาวตูดซิ (Tutsi) ร้อยละ14 และ ชาวทวา (Twa) ร้อยละ 1 นอกนั้นจะเป็นชาวยุโรปและเอเชียใต้ที่เข้ามาทำงาน
และเนื่องด้วยประเทศบุรุนดีมีชนเผ่าใหญ่ ๆ 2 เผ่าทำให้เกิดความขัดแย้งกัน
เดิมทีพื้นที่ของประเทศมีชาวฮูตูอาศัยอยู่แต่ชาวตูดซิได้เข้ามายึดครอง ทำให้ทั้ง 2
เผ่าไม่ถูกกันนับแต่นั้นเป็นต้นมา กินระยะเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน
ด้วยเหตุทางด้านการเมืองภายในประเทศส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไม่เติบโตเท่าไหร่นัก
อีกทั้งยังถูกการคว่ำบาตรจากต่างประเทศอันเนื่องมาจากสงครามและความรุนแรงในประเทศ
รายได้หลักของประเทศจึงมาจากการเพาะปลูกชาและกาแฟ ซึ่งมีราคาผันผวนไปตามตลาดโลก
เนื่องจากบุรุนดีเป็นประเทศขนาดเล็ก
มีพื้นที่ดีไม่มาก ทรัพยากรก็ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก
ประชาชนจึงต้องอาศัยการเกษตรกรรมในการประกอบอาชีพอันเป็นพื้นฐานของอาชีพหลักของคนในพื้นที่กว่าร้อยละ
90 โดยพืชเศรษฐกิจของประเทศบุรุนดีคือการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ความสูง
1,370 – 1,830 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
อุณหภูมิเฉลี่ย 15 – 24 องศาเซลเซียล
ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศบุรุนดีที่อยู่ประมาณ 17 – 23
องศาเซลเซียล
ด้วยเหตุที่ประเทศบุรุนดีเป็นประเทศยากจนทำให้การปลูกกาแฟของที่นี่ต้องใช้แรงงานคนเป็นหลัก
โดยเกษตรกรต้องเริ่มเตรียมการเพาะปลูกกันตั้งแต่แรกด้วยแรงงานคน
การเก็บเกี่ยวกาแฟเชอร์รี่จะเก็บใส่กระสอบและลำเลียงมายังโรงกาแฟเพื่อทำการแปรรูปเป็นกาแฟกะลา
และกาแฟสารในขั้นต่อมาเพื่อทำการส่งออก
สถานการณ์ปัจจุบัน
จากความขัดแย้งของประชาชนในชาติที่มีอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศไม่เจริญเติบโตอย่างที่ควรนัก
แม้แต่การส่งออกกาแฟซึ่งยังคงเผชิญกับปัญหาสงครามและการเมืองไม่หยุดยั้ง
ซึ่งประเทศคู่ค้าของบุรุนดีคือซาอุดิอาราเบีย (Saudi Arabia)
จีน (China) แทนซาเนีย (Tanzania) และอื่นๆ
กาแฟจากบุรุนดีได้ชื่อว่าเป็นกาแฟที่ดีที่สุดอีกหนึ่งแห่งหนึ่งของโลก
แต่หากสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กาแฟสีน้ำตาลส่งกลิ่นหอมอาจจะต้องกลับมาตลบอบอวลด้วยกลิ่นคาวเลือดก็เป็นได้ โชคดีที่ประเทศไทยไม่ได้มีเรื่องราวแบบ Burundi กาแฟเลือด เราจึงยังคงมีความสุขกับการดื่มกาแฟ และการสรรหากาแฟที่ดีที่สุดมาบริโภค
สาระ : ในขณะที่หลายประเทศในแอฟริกาที่ผลิตกาแฟ ยังคงใช้วิธีแบบท้องถิ่นในการคัดแยกเมล็ด ซึ่งอาจจะช้าและส่งผลต่อคุณภาพเมล็ด แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า เช่น เครื่องคัดแยกกาแฟ A-mecs Colorsorter
เว็บไซต์อื่นๆ :
http://www.beltandbearings.com
#โรงกาแฟ
No comments:
Post a Comment