ทุกวันนี้เราจะได้ยินเกี่ยวกับเรื่องของการทำธุรกิจStart upมากมายจากคนรู่นใหม่ที่ทั้งมีไฟเเถมมากไปด้วยความสามารถ ในส่วนของธุรกิจกาเเฟในเเบบฉบับที่เราคุ้นกันดีคงจะเป็นในส่วนของร้านกาเเฟ
พูดไปบ้างแล้วในบล็อคเมื่อวันก่อน เลยอยากจะขยายขึ้นไปอีกเผื่อเพื่อนๆบางคนยังไม่คุ้น ที่ผ่านมาเราอาจเคยได้ยินคำว่า indy cafe ที่สั้นมาจาก independentcoffee house ที่มีคนเคยให้ความหมายไว้เเล้วบ้าง ถ้าจะให้เข้าใจกันง่ายๆคงจะหมายถึงร้านกาเเฟเล็กๆที่พึ่งพาตัวเองแเเละเป็นนายตัวเอง
3rd wave ที่กำลังจะพูดถึงนี้หมายความต่างกันไปแต่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมกาแฟบ้านเรา
ในเรื่องของความหมายของ 3rd wave มีพูดกันมาก กาเเฟนั้นก็มียุคของการพัฒนาหรือบูมเป็นช่วงๆ หากจะเเบ่งให้เห็บภาพคงจะมี 3 ช่วงดังนี้ค่ะ
ช่วงเเรกเห็นทีคงจะเป็นในยุคของหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
First wave
ช่วงประมาณ ศตวรรษที่ 19 เทคโนโลยีการผลิตเเละส่งออกกาเเฟกึ่งสำเร็จรูปประสบความสำเร็จอย่างมากทำให้การบริโภคกาเเฟสะดวกเเละง่ายขึ้น จำนวนผู้บริโภคกาเเฟทั่วโลกสสสูงขึ้นกระฉูดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เกิดร้านกาเเฟขึ้นเเต่ร้านการเเฟก็ยังไม่มีรจำนวนมากเท่าปัจจุบันเเละส่วนมากก็มีเเต่ผุ้ชายจะมาคุย พบปะเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม เเละการเมือง มาจนถึงจุดเริ่มต้นของการผลิตกาแฟผงสำเร็จรูป ทำให้ความนิยมดื่มกาแฟเริ่มแพร่หลายมากขึ้นผู้คนหาดื่มได้ง่ายขึ้นจนเป็นจุดกำเนิด การเปิดร้านกาแฟ ของยุคต่อไป
Second wave
ตามมาด้วยคลื่นลูกที่ 2 น่าจะเป็นช่วงเวลาไม่ถึง 30 ปีที่ผ่านมา ช่วงเวลาที่บาร์กาเเฟเสิร์ฟกาเเฟคุณภาพสูงได้รับความนิยมมากขึ้น เป็นช่วงที่ผู้คนนิยมเข้าร้านกาเเฟกันเพื่อพบปะ กลายเป็นวัฒนธรรมที่เเพร่หลายไม่จำกัดเพียงเเค่สังคมชั้นสูง มีผู้คนบริโภคกาเเฟกันมากขึ้น ร้านกาเเฟชื่อดังอย่างสตาร์บัค Starbucks ร้านกาแฟเฟรนไชส์ และ Cafe ที่มีลักษณะ คล้ายกันเกิดขึ้นตามหัวมุมถนนต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดเเละการผลิตกาเเฟเเบบอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกในตราสินค้าของตัวเอง การดื่มกาเเฟนั้นเริ่มซึมซับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสประจำวันหลักๆเเล้วเกิดขึ้นจากเเผนการตลาดของกาเเฟยี่ห้อดังต่างๆ
จนมาถึงคลื่นลูกสุดท้ายคือลูกที่ 3 ที่เรียกว่าThird wave
ร้านกาเเฟอย่าง Starbucks กลายเป็นเเค่กาเเฟที่รสชาติดีพอใช้เเละผู้คนส่วนใหญ่เเค่ติดเเบรนด์หรือรสชาติเท่านั้นเอง นี่คือยุคของกาเเฟในปัจจุบัน Third wave ถูกเรียกอย่างจริงจังตั้งเเต่ปี2002 จนมาถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้เราดื่มกาเเฟเพื่อเสพรสชาติผู้บริโภคยอมเสียเงินจำนวนมากขึ้นเพื่อสัมผัสรสชาติกาเเฟที่ดีขึ้น แหล่งที่มาของกาแฟ และที่สำคัญวิธีการผลิตจะต้องโปร่งใสมาเป็นอันดับต้นๆ ไล่จากแหล่งที่ปลูก การใช้แรงงาน และ เรื่อง กาแฟ Organic ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาในสังคม และ Barista มีคนพยายามอธิบายว่าเป็นการบริโภคกาแฟที่คุณภาพสูงแบบสุดๆ คำว่า specialty ถูกเน้นให้เข้มงวดขึ้นไปอีก
ผู้ชงถือเป็นทูตของเมล็ดกาแฟแต่ละเมล็ดที่จะนำพาคุณลักษณะอันล้ำเลิศของกาแฟจากแหล่งปลูกมาสู่ถ้วยของผู้ดื่มอย่างไร้ที่ติ กาแฟถูกเปรียบเหมือนไวน์ชั้นเลิศ ที่ต้องประกาศข้อมูลเบื้องหลังเช่นสายพันธุ์ กระบวนการผลิต แหล่งปลูก หรือแม้แต่ชื่อของผู้ปลูกอย่างละเอียดยิบ
ตามร้านท้องถิ่นเริ่มเสาะหาเมล็ดกาแฟที่ดีกว่า จากผู้ผลิตขนาดเล็ก และมีการใช้วิธีในการสกัดกาแฟที่หลากหลายมากขึ้นจากยุคก่อน ที่ใช้กันเพียงแค่เครื่อง Espresso เท่านั้น และคอกาแฟก็เริ่มให้ความสนใจในเรื่องกรรมวิธีของการสกัดมากยิ่งขึ้น ในยุค Trird Wave จึงมี Barista และ คอกาแฟจำนวนหนึ่ง ที่นิยมกาแฟพิเศษ หรือ ที่เรียกว่า Specialty Coffee
ข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นบ้างก็ว่ามันถึงกับเป็นปรากฎการณ์จนถือเป็น “คลื่น” ลูกหนึ่ง
เชียวหรือ ทั้งที่ใน 2nd wave เอง เราก็มีกาแฟที่คุณภาพสูงอยู่แล้ว
สิ่งที่ชอบในคอนเซ็ปท์ของ 3rd wave คือ “ความโปร่งใส” กลุ่มคนพวกนี้มีความลับทางการค้าน้อยมาก เรียกว่ารู้อะไรมาก็จะนำมาแลกเปลี่ยนกันเสมอเพื่อจุดมุ่งหมายในการช่วยกันปรับปรุงพัฒนาคุณภาพให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งผสมรวมกับเทคโนโลยีอินเทอร์เนตที่เชื่อมคนจากทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกันแล้ว คนกาแฟจากยุโรปอเมริกาหรือแม้แต่เอเซียจึงเหมือนอยู่ใกล้กันมากขึ้น หากท่านดื่มกาแฟของใครแล้วได้รับทราบเพียงแต่ว่ากาแฟที่ดื่มนั้นมาจาก “ดอยสูงทางภาคเหนือ” ก็ยากที่จะเรียกบาร์กาแฟแบบนี้ว่า 3rd wave
ในปัจจุบันนี้ลักษณะของ 3rd wave ในเมืองไทยได้เกิดขึ้นบ้างแล้ว อาจจะยังไม่
เป็นแบบสุดๆอย่างที่ในยุโรปหรืออเมริกามีแต่ก็ถือว่ามีและไม่ได้น้อยหน้าฝรั่งมากนัก
สาระสำคัญที่น่าจะอยู่ในใจของคนทำกาแฟก็คือการให้ความสำคัญกับคุณภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และต้องเชื่อว่าหากเราดูแลได้ดีแล้ว กาเเฟจะมีรสชาติเเละกลิ่นหอมที่สมบูรณ์ออกมาเอง
เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพกาเเฟอีกเครื่องหนึ่งที่เหล่าผู้ค้ากาเเฟคือ เครื่องวัดความชื้น ถูกนำเข้ามาเพื่อใช้ตรวจสอบ ในเรื่องของความชื้นที่เหมาะสมก่อนการคั่ว
เครื่องวัดความชื้น KETT(Japan) รุ่น PM-450(4504)
Nice Informative Blog having nice sharing.. Steeped Coffee
ReplyDelete